ประชุมวิชาการ  webinar พฤษภาคม พบซี่รี่ส์ โรคไมเกรนปัญหากวนใจ EP 2 : วันที่ 28 พ.ค.  webinar มิถุนายน  วันที่ 13 มิ.ย. เรื่อง “บทบาทยาขยายหลอดลมชนิดรับประทานกับอาการไอ และ ยาทางเลือกใหม่กับโรคกระเพาะอาหารอักเสบ”  ; วันที่ 18 มิ.ย.เรื่อง "โรคผิวหนังอักเสบและโรคผิวหนังที่พบบ่อยในเด็ก" เภสัชกรชุมชน ตาไว  25 มิ.ย. กับ "ข้อจำกัดและแนวโน้มการประยุกต์ใช้ Telehealthกับการให้บริการสุขภาพในร้านยา* CPA e-Learning 2566 คลิ๊กhttps://healthacademy.in.th/cpa* พิเศษ โครงการสินเชื่อบ้าน  Life Begins with GHB*

เสวนาศึกษารูปแบบแพลตฟอร์ม ดิจิทัลทางการแพทย์ และการนำแนวทางโภชนบำบัดมาดูแลผู้ป่วยในร้านยา
เสวนาศึกษารูปแบบแพลตฟอร์ม ดิจิทัลทางการแพทย์ และการนำแนวทางโภชนบำบัดมาดูแลผู้ป่วยในร้านยา
รหัสกิจกรรม
สถานที่จัดการประชุม zoom webinar     View location Map
วันที่จัดการประชุม 29 มกราคม 2566
ผู้จัดการประชุม สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย)
กลุ่มเป้าหมาย สมาชิกสมาคมเภสัชกรรมชุมชนและ เภสัชกรชุมชนที่สนใจ
หน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง 0 หน่วยกิต
อัตราค่าลงทะเบียน
หลักการและเหตุผล
จากผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด -19 ทำให้รูปแบบการให้บริการด้านการแพทย์ มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มีการเว้นระยะห่างการให้บริการ ส่งผลให้พฤติกรรมการให้บริการทางการแพทย์ ผ่านแพลตฟอร์ม ต่างๆ เริ่มได้รับความนิยม และมีผู้เลือกใช้มากขึ้น
ร้านยา ซึ่งแต่เดิมเป็นการให้บริการด้านเภสัชกรรม ที่เน้นให้บริการหน้าร้าน (onsite) จำเป็นต้องรับทราบกิจกรรมของการนำ Telemedicine และ Telepharmacy ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative Care) ซึ่งในอนาคตจะมีการนำเทคโนโลยีรูปแบบนี้มาปรับใช้มากขึ้น เพื่อสอดรับกับการเป็นสังคมผู้สูงอายุ และเป็นการเพิ่มความสามารถในการให้บริการกับประชาชนในชุมชนอีกด้วย
ร้านยาเป็นที่พึ่งของประชาชนในเรื่อง สุขภาพและยา มีโอกาสที่ได้ดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ในชุมชน และในอนาคต อาจจะต้องปรับตัวนำเทคโนโลยี Telepharmacy มาปรับใช้ให้บริการในร้านมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีองค์ความรู้ด้านการให้บริการผ่านระบบ Telepharmacy และองค์ความรู้ที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หรือความรู้ในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
โดยการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองนั้น เภสัชกรร้านยา ควรจะมีความรู้ในเรื่องการจัดการการใช้ยา เช่น เรื่องการจัดการอาการปวด (Pain management) การทบทวนรายการยา และการค้นหาปัญหาการใช้ (Medication Reconcilation) ให้ความรู้และทักษะที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative Care) และผู้ดูแล (Care giver) เป็นที่ปรึกษาและสนับสนุนวิชาการด้านยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ของผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative Care) ให้กับทีมสุขภาพในชุมชน ในการประชุมครั้งที่ 1 หัวข้อบรรยายวิชาการ จะเน้นการดูแลผู้ป่วย มะเร็ง (Cancer) เนื่องจากในระยะที่มีการพักฟื้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีปัญหาด้านโภชนการ ภาวะอ่อนเพลียที่เกิดจากการรักษา บำบัด ตามแนวทางของแพทย์ หรือ มีเรื่องของการปวด ซึ่งปัญหาเหล่านี้ใน ผู้ดูแลก็อาจจะมาปรึกษาเภสัชกรในร้านยา เพื่อขอคำปรึกษา หรือ หาผลิตภัณฑ์ เพื่อไปบรรเทาอาการเหล่านี้ให้กับผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้
ในครั้งนี้สมาคมเภสัชกรรมชุมชน(ประเทศไทย) ร่วมกับ บริษัท เมก้าไลฟ์ ไซแอ็นท์ พีทีวาย จำกัด ได้ร่วมกันจัดการประชุมโดยมีเนื้อหาการนำแนวทางโภชนบำบัด ทั้งรูปแบบอาหารทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยเชิญแพทย์ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้ความรู้กับเภสัชกรชุมชน ที่ปฏิบัติหน้าที่ในร้านยา ได้มีความรู้ความเข้าใจในการนำความรู้ทางโภชนบำบัด มาให้คำปรึกษากับผู้รับบริการ ซึ่งอาจจะเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว นอกจากนี้การมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องโภชนบำบัด ทำให้เป็นที่พึ่งกับประชาชนในเรื่องผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ได้แล้ว ยังช่วยป้องกันปัญหาการที่ประชาชนหลงเชื่อในผลิตภัณฑ์ที่หลอกลวง ซึ่งอาจจะส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วย เป็นผลให้เกิดความล้มเหลวในแผนการรักษาได้ และได้เชิญเจ้าของแพลตฟอร์มดิจิทัลทางการแพทย์ ทั้ง Telemedicine และ Telepharmacy มานำเสนอรูปแบบการให้บริการในปัจจุบัน เพื่อให้เภสัชกรร้านยาเลือก และนำมาปรับใช้พัฒนารูปแบบการให้บริการผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เภสัชกรชุมชนรู้จักแพลตฟอร์มการให้บริการ ทั้งการแพทย์ทางไกล (Telemedicine ) และเภสัชกรรมทางไกล (Telepharmacy)
2. เพื่อให้เภสัชกรชุมชนสามารถเลือกใช้แพลตฟอร์ม ทางการแพทย์ต่างๆ ได้เหมาะสมกับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ
3. เพื่อเป็นการสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็นให้กับเภสัชกรชุมชน ในการดูแลผู้ป่วยที่อาจจะต้องใช้แพลตฟอร์ม เภสัชกรรมทางไกลในการดูแล
คำสำคัญ
Telemedicine , Telepharmacy, Palliative Care, Cancer ,โภชนบำบัด